1.กฎหมายคืออะไร
จงอธิบาย
และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ
“กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด
หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ ลักษณะของกฎหมาย
การบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
คือ
มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับการรับรองและคุ้มครองจากกฎหมายอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์
โดยมิต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอื่นๆ เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ถิ่นกำเนิด เป็นต้น
ในขณะเดียวกันก็ถือหลักความเสมอภาคนี้
เป็นหลักที่ควบคุมไม่ให้รัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยการใช้อำนาจของรัฐแก่กลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู
ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น
ทั้งของรัฐและเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร
จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ
เห็นด้วย เพราะ การที่จะเป็นครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา
และบุคลากรทางการศึกษอื่น
จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพเพื่อ
เป็นหลักประกันความมีมาตรฐานและคุณภาพของการประกอบวิชาชีพ และเป็นการยกระดับมาตรฐานวิชาชีพให้สูงขึ้น
เพราะใบประกอบวิชาชีพครูเป็นตัวชี้วัดว่าเรานั้นมีความสามารถพอที่จะไปประกอบวิชาชีพครู
และ
เป็นการประกันคุณภาพว่าเราจะสอนนักเรียนให้มีความรู้ความสามารถอย่างเต็มศักยภาพและประสิทธิมากขึ้น
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน
และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ
1. ใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
2.
ขอความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชนที่มีอยู่ในชุมชน
3. จัดเก็บภาษีเพื่อ
การศึกษาได้ตามความเหมาะสม ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
องค์กรเอกชนองค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา โดยเป็นผู้จัดและมีส่วน ร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สิน และทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วม
รับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความจำเป็น
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ
รูปแบบของการจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ
คือ
1
การศึกษาในระบบ
เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย
วิธีการศึกษา หลักสูตร
ระยะเวลาของการศึกษา
การวัดและการประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
2 การศึกษานอกระบบ
เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล
ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
3 การศึกษาตามอัธยาศัย
เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ
ความพร้อมและโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์
สังคม สภาพแวดล้อม สื่อหรือแหล่งความรู้อื่นๆ
5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
อธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ
การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความแตกต่างกัน ซึ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียนแต่เป็นสิทธิ์ของคนไทย ส่วน
การศึกษาภาคบังคับ เป็นการบังคับให้เข้าเรียนถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองตามมาตรา 69
ของรัฐธรรมนูญ
6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร
และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ ๑ สำนักงานรัฐมนตรี ๒ สำนักงานปลัดกระทรวง
๓ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ๔
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๕
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ๖
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ.2546
ตอบ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
คือ เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
และกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่ (1)
สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล
อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษา ตามมาตรา 53
แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ(2)
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ
มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ
และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง
8.
ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า
ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว
หรือไปสอนเป็นประจำ หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
พ.ศ. 2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ
ไม่กระทำผิด เพราะถึงห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพ
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
ยกเว้นว่าหากผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย
สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน
อะไรบ้าง
ตอบ
โทษที่ควรจะได้รับจากการทำผิดระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ
โทษผิดวินัยมี 5 สถาน คือ 1. ภาคทัณฑ์ 2. ตัดเงินเดือน 3.
ลดขั้นเงินเดือน 4. ปลดออก 5. ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า
เด็ก เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า
เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ
พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ
- เด็ก หมายความว่า บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์
แต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วย การสมรส
- เด็กเร่ร่อน หมายความว่า
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองหรือมีแต่ไม่เลี้ยงดูหรือไม่สามารถเลี้ยงดูได้
จนเป็นเหตุให้เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อสวัสดิภาพของตน
- เด็กกำพร้า หมายความว่า
เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต
เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
- เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก
หมายความว่า เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง ทิ้งร้าง ถูกคุมขัง
หรือแยกกันอยู่และได้รับความลำบาก
หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา
หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
- เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด
หมายความว่า เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด คือ
เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควรเด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย
ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
- ทารุณกรรม หมายความว่า
การกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด ๆ จนเป็นเหตุให้เด็กเสื่อมเสียเสรีภาพ
หรือเกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจ
การกระทำผิดทางเพศต่อเด็กการใช้เด็กให้กระทำหรือประพฤติในลักษณะที่น่าจะเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจหรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี
ทั้งนี้ ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม