ให้นักศึกษาอ่านเนื้อหาแล้วตอบคำถาม
1.เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545
ตอบ
เหตุผลในการประกาศให้พระราชบัญญัติฉบับนี้
คือโดยที่กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้บิดา มารดา
หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
จึงสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการประถมศึกษา
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกฎหมายดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
2.
ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 อย่างไร
ตอบ - ผู้ปกครอง ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
กำหนดบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้แก่ กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับ
บิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้ปฏิบัติตาม
หน้าที่ในการส่งบุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ
กำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดชอบของบิดา มารดา
หรือผู้ปกครองในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดสาเหตุที่จะขอผ่อนผันหรือขอยกเว้นหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน
และมีระยะเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอนและไม่นานเกินไป กำหนดความหมายของบิดา มารดา
หรือผู้ปกครองให้ชัดเจน
-
เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก
เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
-
การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า
การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง
ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
-
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน
องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา
และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความเป็นจำ ทั้งนี้
ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน
การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
3.
กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร
และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
ตอบ กรณีผู้ปกครองที่ไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 6
จะต้องถูกลงโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทและถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาได้ผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
คือ สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
4.
ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีทั้งหมด 21 ข้อ
ตอบ
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ใน พ ร
บ.ระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
มีดังนี้
-
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ คือ
จัดการศึกษา บำรุงศาสนา และ
สืบสานศิลปวัฒนธรรม
-
การจัดระเบียบกระทรวงศึกษาธิการจัดได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนกลาง
เขตพื้นที่การศึกษา และสถาน
ศึกษาของ รัฐระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคล
-
การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการให้คำนึงถึง
คุณวุฒิ
ประสบการณ์ และมาตรฐานวิชาชีพ
ลักษณะหน้าที่ความรับผิดชอบ และคุณภาพงาน
-
บทบาทของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะต้องดำเนินการตาม พ ร บ.
นี้คือ อำนาจใน
การออก กฎกระทรวง ระเบียบและประกาศ
และตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของ
ผู้ดำรงตำแหน่งและหน่วยงาน
-
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ประกอบด้วย ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานรัฐมนตรีและ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
- ส่วนราชการส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานรัฐมนตรี
ไม่เป็นนิติบุคคลส่วนสำนักงาน
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและ สำนักงานคณะกรรมการการ
ศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นนิติบุคคล
-
ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการ คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการฃ
-
อำนาจหน้าที่ของสภาการศึกษา คือ พิจารณาเสนอแผนการศึกษาแห่งชาติ, พิจารณาเสนอนโยบาย
แผนและมาตรฐานการศึกษา
และพิจารณาเสนอนโยบายและแผนในการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา
-
ประธานคณะกรรมการสภาการศึกษา คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
-
คณะกรรมการสภาการศึกษา กำหนดตำแหน่งประธานกรรมการไว้ใน พรบ. 2546
-
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ทำหน้าที่รับผิดชอบงานเลขานุการของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
-
หน้าที่ของผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ คือ
นิเทศให้คำปรึกษาและแนะนำเพื่อ การปรับปรุง
ตรวจราชการ และศึกษาวิเคราะห์ วิจัย
-
หน่วยงานระดับที่สามารถมีผู้ตรวจราชการได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการ ,กรมหรือหน่วยงานเทียบ
เท่ากรมและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
-
บทบาทของคณะตรวจราชการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คือ ศึกษา
วิเคราะห์วิจัย นิเทศ
ติดตามและประเมิน ผลการบริหารและการดำเนินงาน
-
บทบาทของกระทรวงศึกษาธิการที่มีต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ ประเมินความพร้อมในการจัด
-
การศึกษา เสนอแนะการจัดสรรงบประมาณอุดหนุนการจัดการศึกษา และ
ประสานส่งเสริมการจัดการศึกษา
-
ในกรณีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่อาจจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือการศึกระดับอุดมศึกษา
ระดับต่ำกว่าปริญญาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการจะเป็นผู้จัดการ
-
หากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไม่สามารถจัดได้
หน่วยงานที่สามารถจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้คือหน่วยงานดังต่อไปนี้
-
การจัดการศึกษาในรูปแบบการศึกษานอกระบบหรือตามอัธยาศัย
-
การจัดการศึกษาสำหรับคนที่มีความสามารถพิเศษ
-
การจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความบกพร่อง ทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
อารมณ์สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพ
-
ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
คือ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการและเลขาธิการ
-
ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสถานศึกษาของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
คือ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น